Header Ads Widget

Responsive Advertisement

ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน

   ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูดสันหลังมีโครงสร้างของลำตัวเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอกตั้งแต่ส่วนหัวจนถึงส่วนปลาย เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน ตามเศษซากกองพืช และมูลสัตว์ ที่ๆมีความชื้นพอสมควร


 • มีช่องลำตัวที่แท้จริงแบบ Schizocoelomate ซึ่ง เป็นซีลอมที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลางแยกออกเป็นช่องและช่องนี้ขยายตัวออก จนเป็นซีลอม

• ผนังลำตัวชั้นนอกสุดเป็นคิวติเคิล ที่ประกอบด้วยสารจำพวกโพลีแซคคาไรด์ เจลาติน และชั้นอิพิเดอร์มิส มีเซลล์ต่อมชนิดต่างๆ ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำเมือกทำให้ผิวลำตัวชุ่มชื้นถัดลงไปเป็นกล้ามเนื้อตาม ขวางและกล้ามเนื้อตามยาวและชั้นในสุดเป็นเยื่อบุช่องท้องแบ่งแยกระหว่างช่อง ลำตัวกับผนังร่างกาย

• มีระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ คือมีปาก และ ทวารหนัก โดยมีลำไส้เป็นท่อตรงยาวตลอดลำตัว

• ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะที่เรียกว่า เนฟริเดีย (ทวารหนัก)ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของลำตัวปล้องละ 1 คู่ ในปล้องสุดท้าย

• ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด

• มีถุงห่อไข่ (ไคลทาลัม)ที่สามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อถึงระยะวางไข่

• ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นแบบการแพร่ผ่านผนังลำตัว

• มีระบบประสาท ประกอบด้วย ปมประสาทสมองด้านหลังลำตัวในบริเวณส่วนหัว 1 คู่ เส้นประสาทรอบคอหอย 1 คู่ และเส้นประสาทด้านท้องทอดตามความยาวของลำตัวอีก 1 คู่

• มีอวัยวะรับสัมผัส ประกอบด้วย ปุ่มรับรส กลุ่มเซลล์รับแสง

• เป็นสัตว์ที่มีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน คือ ประกอบด้วย รังไข่และถุงอัณฑะ รูของตัวผู้จำทำหน้าที่ปล่อยเชื้อ(สเปิร์ม) จะเห็นว่าเป็นตุ่มเล็กๆ ส่วนรูของตัวเมียจะเป็นรูที่ออกไข่มีเพียงรูเดียวเท่านั้น

• การเคลื่อนที่อาศัยการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อแต่ละปล่อง

Post a Comment

0 Comments